SUHYUP เดินหน้าผลักดัน K-seafood เข้าสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

0
208

Suhyup ประสบความสำเร็จในการประชาสัมพันธ์ K-FISH ผ่านการจัด Korean Pavilion ในงาน ‘THAIFEX Anuga Asia-Seafood’ ด้วยผลงานการให้คำปรึกษาการนำเข้าส่งออก มูลค่า 72,495,000 เหรียญสหรัฐ ทั้งยังมีการร่าง MOU และสัญญาการส่งออก มูลค่ากว่า 5,167,000 เหรียญสหรัฐ

สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลี หรือ ซูฮยอบ ขนทัพผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเกาหลีเข้าร่วมงาน ‘THAIFEX Anuga Asia-Seafood’ 2023 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 – 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อเดินหน้าสนับสนุนการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเกาหลีสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเต็มกำลัง

‘THAIFEX Anuga Asia-Seafood’ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 18 ในปีนี้ เป็นงานแสดงสินค้าประมงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีบริษัทมากกว่า 3,000 แห่งจาก 45 ประเทศเข้าร่วม เพื่อแบ่งปันเทรนด์ด้านผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปและค้นหาโอกาสในการค้าระหว่างประเทศ
ในงานนี้สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลีได้จัด Korean Seafood Pavilion ขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์
K-FISH ซึ่งเป็นแบรนด์ส่งออกอาหารทะเลเกาหลีครบวงจร และสร้างความใกล้ชิดกับผู้ซื้อ รวมทั้งกระตุ้นการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเกาหในหลากหลายมิติ ผ่านกิจกรรมต่างๆ และการแจกสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย
นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้บริษัทผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเกาหลี 14 แห่งออกบูธสำหรับแต่ละบริษัท เพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์และสื่อสาร รวมไปถึงให้คำปรึกษาด้านการส่งออกสำหรับผู้ซื้อที่สนใจได้ภายในงานอีกด้วย

สินค้าส่งออกที่สำคัญของบริษัทที่มาเข้าร่วมใน Korean Pavilion มีทั้งหมด 17 รายการ เช่น สาหร่ายอบแห้ง (kim), หอยนางรม, เนื้อปู, ปลิงทะเล ,ปลาไหลทะเล, สาหร่ายทะเล(Seaweed), เกลือ, หอยเป๋าฮื้อ และกุ้งดอง โดยผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของผู้ซื้ออย่างมาก ได้แก่ หอยนางรม สาหร่ายทะเล หอยเป๋าฮื้อ และปลิงทะเล ของผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปโดยเฉพาะใน Korean Pavilion นั้นเน้นการส่งเสริมหอยนางรม ปลิงทะเล และหอยเป๋าฮื้อคุณภาพสูงแก่ผู้ซื้อในประเทศไทยผ่านกิจกรรมให้ชิมผลิตภัณฑ์ และสามารถสรุปสัญญาการส่งออกจริงผ่านกิจกรรมให้คำปรึกษาในงานได้เลย

นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากนาย มูน ซึง-ฮยอน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย มาเยี่ยมชมและรับฟังปัญหาเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลของบริษัทที่เข้าร่วมงาน และร่วมหาแนวทางเพื่อขยายการส่งออกมายังประเทศไทย ซึ่งในครั้งนี้ แม้จะมีสถานการณ์ที่ยากลำบาก เช่น เศรษฐกิจโลกถดถอยและการบริโภคที่ซบเซา แต่ Korean Pavilion กลับทำผลงานให้คำปรึกษาหารือ มูลค่าถึง 72,495 พันดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 14% จากปีก่อนหน้า และมีการร่าง MOU รวมถึงสัญญาการส่งออก มูลค่ากว่า 5,167 พันดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 74% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเจ้าหน้าที่จากสหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลี กล่าวว่า “งาน ‘THAIFEX Anuga Asia-Seafood’ 2023 เป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางทะเลของเกาหลีให้เกิดการรับรู้สู่เอเชีย” และกล่าวอีกว่า “สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลี จะพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าการปรึกษาหารือจากในงานจะนำไปสู่การทำสัญญาและการส่งออกจริงผ่านการจัดการอย่างใกล้ชิดและดูแลด้วยความต่อเนื่อง”

ผู้ซื้อที่สนใจนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเกาหลีสามารถเข้าเยี่ยมชมศูนย์ส่งเสริมการค้าอาหารทะเลเกาหลีประจำกรุงเทพฯ ภายใต้สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลี และรับคำปรึกษาการนำเข้าส่งออกอาหารทะเลเกาหลีหลากหลายชนิดทางอีเมล ([email protected]) หรือ โทรศัพท์ (02-057-4030) ได้เสมอ สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลีได้ก่อตั้ง ศูนย์ส่งเสริมการค้า 10 แห่งใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน เพื่อสนับสนุนการตลาดในประเทศนั้นๆ รวมถึงให้การสนับสนุนพื้นที่สำนักงาน คำแนะนำด้านกฎหมายและการตีความ และการพัฒนาตลาดเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารทะเลของบริษัทประมงเกาหลี โดยศูนย์ส่งเสริมการค้าประจำกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่อาคาร เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ เขตสาทร เปิดให้บริการตั้งมาแต่เดือนมิถุนายน 2018