รายการโหนกระแสวันที่ 16 เม.ย. “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 กรณีเงินประกันสังคม แรงงานในระบบที่มีนายจ้างส่งประกันสังคม หลายคนถูกพักงานเพราะผลกระทบโควิด-19 ถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือดูแลเยียวยา ขณะที่คลังที่ดูแลแรงงานนอกระบบเริ่มจ่ายเงินแล้ว วันนี้พูดคุยกับ “คุณพิศมัย นิธิไพบูลย์” ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม
ก่อนหน้านี้เงินที่จ่ายให้ฝั่งแรงงานนอกระบบคือคลัง แรงงานที่ไม่มีประกันสังคม ทีนี้คนที่เขาจ่ายเงินประกันสังคม ก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสคุยกับ ดร.จักษ์บอกว่าเพดานอยู่ที่ 15,000 แต่จ่ายครึ่งเดียว 50 เปอร์เซ็นต์ คือ 7,500 แต่สัก 2 สัปดาห์เปลี่ยนแล้ว ตอนนี้เปลี่ยนเป็นกี่เปอร์ซ็นต์?
“62 เปอร์เซ็นต์แล้วค่ะ จาก 15,000 บาท ประมาณ 9,300 บาทต่อคนต่อเดือน เรากำหนดว่าไม่เกิน 90 วัน”
ใครบ้างที่คิดว่าน่าจะเป็นคนที่อยู่ในประกันสังคม?
“ตอนนี้เรากำหนดว่านายจ้างมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนกองทุนประกันสังคม นายจ้างที่ขึ้นทะเบียนมาแล้ว ณ เวลานี้ จะมีลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม หรือผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คืออยู่ในระบบการจ้างงาน 11.6 ล้านคน”
11 ล้านคนตอนนี้ ทางมุมประกันสังคม คิดว่ามีผลกระทบกี่คน?
“11 ล้านคนเข้ามาอยู่ในระบบก็จริง แต่จะมีส่วนหนึ่งที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน กรณีว่างงานคุณต้องส่งเงินสมทบ เข้ามา 6 เดือน ภายใน 15 เดือนย้อนหลัง ที่เรามีอยู่ 2 ล้านส่งสมทบไม่ครบ เขาจะว่างงานหรืออย่างไรก็แล้วแต่ ก็จะไม่ได้เงินตรงนี้”
แล้วเขาทำยังไง?
“คนกลุ่มนี้เราก็ให้ข้อมูลกระทรวงการคลังไปแล้ว”
ไปคลังก็ไม่ได้เหรอ?
“ตอนนี้ที่ให้ข้อมูลไป มีคนส่งเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน เฉพาะกิจการที่รัฐสั่งให้หยุดประมาณ 7 หมื่น มีกลุ่มพวกมาตรา 39 40 ที่เราให้ไป กรณีว่างงานต้องส่งให้ครบ 6 เดือน ซึ่งปกติลูกจางไม่ขาดอยู่แล้ว หน้าที่นี้เป็นของนายจ้าง แต่มีนายจ้างบางรายที่ค้างชำระเงินสมทบ แต่เราก็ให้สิทธิ์ลูกจ้าง”
ต้องไปเล่นนายจ้าง?
“ใช่ค่ะนายจ้างต้องรับผิดชอบ ถ้านายจ้างไม่ส่งเงินทั้งสองส่วนเข้ามาตามกำหนด นายจ้างจะเป็นคนจ่ายฝ่ายเดียวพร้อมค่าปรับที่เกิดขึ้น สิทธิ์เราก็ให้ลูกจ้างเหมือนเดิม ระยะเวลาที่เขามาประกันสังคม ทำงาน 6 เดือนแต่ส่งเข้ามาไม่ครบ เราก็ต้องย้อนไปที่นายจ้างว่าระหว่างส่งไม่ครบเขาทำงานมั้ย ถ้าทำงานเขาก็ให้สิทธิ์ลูกจ้าง”
62 เปอร์เซ็นต์ ให้กี่เดือน?
“เดือนต่อเดือน จ่ายกรณีว่างงานก็ 3 เดือน 90 วัน”
ไม่ได้ลดเหลือเดือนเดียว?
“(หัวเราะ) ลดไม่ได้ค่ะ ถ้าออกเป็นมติครม. กฎกระทรวงต้องใช้บังคับเลย ประกาศเมื่อไหร่ จะไปลดเพิ่มก็ไม่ได้แล้ว ต้องเป็นไปตามนั้น กฎกระทรวงนั้นให้ใช้ได้ 6 ดือนถึงสิงหาคมค่ะ”
กรณีบริษัทมีลูกจ้างแล้วเขามีผลกะทบ แต่เขาดูแลให้เงินเดือนอยู่ คนเหล่านี้รับได้มั้ย?
“ไม่ได้ค่ะ เพราะถือว่ายังไม่ใช่ผู้ว่างงาน ไม่ถือว่าเป็นคนที่ขาดรายได้”
แต่นายจ้างจ่าย 75 เปอร์เซ็นต์?
“แต่ตรงนั้นเป็นการตอบแทนในวันหยุดหรือวันลา หรือวันหยุดที่ไม่รับค่าจ้าง ฉะนั้นลูกจางก็ไม่ได้สิทธิ์ตรงนี้”
คนเคยส่งประกันสังคม 10 ปี ขาดส่ง 2-3 เดือนก็ไม่ได้?
“ถ้าขาดส่งกรณีไม่ใชความผิดลูกจ้างก้ได้ แต่ต้องไปไล่เบี้ยจากนายจ้าง มัน 6 เดือนย้อนหลังไป 15 เดือนยังไงก็ได้ แต่กรณีหยุดจ่าย 75 เปอร์เซ็นต์ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ตรงนั้นเราถือว่าเงินที่นายจ้างจ่ายให้ เขาไม่ได้ขาดรายได้ เขาจะมารับเงินว่างงานตรงนี้ไม่ได้”
คนเดือดร้อนตั้งแต่ม.ค. จ่ายย้อนหลังมั้ย?
“กฎกระทรวงฉบับนี้มีผลบังคับใช้ คนได้รับตรงนี้เป็นดือน มี.ค.เป็นต้นไป ไม่ใช่ ม.ค. – กพ. เดือน มี.ค.ก็เป็นเดือนที่ลูกจ้างใช้สิทธิ์ เราก็ย้อนหลังไป 15 เดือน ถ้ามีเงินสมทบเข้ามาใน 6 เดือนมีการจ่าย”
แม้คนงานที่อยู่กับนายจ้างถูกลดเงินเดือนลงมา อันนั้นเป็นส่วนนายจ้าง ไม่เกี่ยวกับประกันสังคม?
“ใช่ค่ะ”
เงินที่เอามาเยียวยาโควิด-19 จะมีผลกระทบกับเงินสะสมประกันสังคมในอนาคตมั้ย?
“ไม่มีค่ะ เพราะเงินที่เก็บเข้ามาคือเงินร้อยละ 5 เปอร์เซ็นต์ ว่างงานเราเก็บแค่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ 5 บาทเก็บแค่ 50 สตางค์ เก็บน้อยมาก”
กรณีลูกจ้างถูกเลิกจ้างปกติ หรือลาออกไปเอง ได้มั้ย?
“เงินตรงนี้เราจ่ายให้เป็นการเพิ่มในเหตุสุดวิสัยโรคโควิดตอนนี้ เดิมไม่มีนะคะ สมัยก่อนเรามีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ด้วย ตอนนี้ลาออกเองเราจ่ายให้ 45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรณีเลิกจ้าง หรือเลิกกิจการ ไม่ทำแล้ว หรือย้ายถิ่นฐานตรงนี้เราก็เพิ่มให้ เราเพิ่มให้ร้อยละ 70 ไม่เกิน 200 วัน”
ลองเอาภาษาชาวบ้านง่าย?
“ตอนนี้ที่เราเยียวยาโควิดคือเราเรียกเหตุสุดวิสัย เพราะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราก็มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กรณีว่างงาน คนที่รัฐสั่งให้หยุดเยียวยา 62 เปอร์ซ็นต์ เพิ่มกลุ่มเป้าหมายกรณีนายจ้างหยุดกิจการเพราะโควิด ก็มารับ 62 เปอรเซ็นต์ไม่เกิน 90 วัน นี่คือเหตุสุดวิสัย ส่วนลาออก ถูกเลิกจ้างปกติ ก็เป็นเหตุทั่วๆ ไป”
ช่องทางเข้าไปติดต่อทำยังไง?
“ตอนนี้ที่เป็นกรณีว่างงาน เราไม่อยากให้คนมาติดต่อที่สำนักงานเยอะ เราให้ใช้วิธียื่นผ่านอีฟอร์มในเว็บไซต์ประกันสังคม ให้นายจ้างเข้ามารับรองด้วย ถ้านายจ้างไม่เข้ามากรอกว่าลูกจ้างว่างงานจริง ก็จะวินิจฉัยไม่ได้ มีอีกมากที่เป็นแบบนั้น เราจ่ายให้ได้เฉพาะกรณีที่นายจ้างมารับรอง”
ลงทางเว็บไวต์อย่างเดียว?
“ถ้ากรณีสะดวก ไม่ไปรวมกลุุ่มกันมาก สามารถยื่นได้ที่สำนักงานด้วย ไม่ว่าเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ไปสำนักงานได้ แต่ตอนนี้เราให้ส่งทางไปรษณีย์ นายจ้างรวบรวมยื่นให้”
ถ้านายจ้างไม่ทำให้?
“เราก็ต้องตามนายจ้าง เราตามเองก็ได้ แต่บางทีเราโทรไปไม่รับสายเลย ก็อาจปิดกิจการไปแล้ว ไม่ได้ติดต่อกันแล้ว ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง ก็ขอความร่วมมือลูกจ้างให้ไปตามนายจ้างให้หน่อยนะ มันไม่ได้ยากเลย อีฟอร์มเป็นแบบฟอร์มกระดาษนี่แหละ”
แรงงานนอกระบบ 8 ล้าน แรงงานประกันสังคม 11 ล้าน ตัวเลขที่มีการคาดการณ์ 11 ล้านคน คิดว่าผลกระทบเท่าที่มีฐานข้อมูล คาดว่ากี่คน สำหรับคนที่ต้องรับเงินเยียวยา?
“กรณีถูกกักตัว และรัฐสั่งให้หยุด เราทำข้อมูลไว้ ยื่นเข้ามาแล้ว ประมาณ 7 แสนราย แต่ยังไม่ได้จ่าย ตรงนี้ต้องสกรีนคนไม่มีสิทธิ์ออกไปก่อน เช่น เป็นมาตรา 39 40 กับคนที่ออกไปนานแล้ว แต่มาขอรับสิทธิ์ด้วย”
11 ล้านคนจากประกันสังคมมีแค่ 7 แสนเองเหรอ?
“ตอนแก้กฎกระทรวงครั้งแรก เราให้กลุ่มถูกกักตัวและกลุ่มที่รัฐสั่งให้หยุด ต่อมามีการแก้ไขกฎกระทรวงใหม่ ก็รวมกลุ่มที่นายจ้างหยุดกิจการเองด้วย ตอนนี้คงมากกว่านี้แล้ว ตั้งแต่นี้ไป”
คัดกรองจากอะไร เอไอหรือเปล่า?
“ไม่ใช่เอไอ เจ้าหน้าที่คัดกรองเอง ช้าแต่ชัวร์ เราก็ให้ยื่นอีฟอร์ม แล้วเจ้าหน้าที่คัดกรองเอง ช้าแต่ชัวร์ค่ะ ระบบเราจะแมตซิ่งให้ก่อน แล้วให้เจ้าหน้าที่วินิจฉัยว่าได้หรือไม่ได้”
มีกรณีที่ว่ามีบุคคลบางคนได้รับทั้งประกันสังคม และฝั่งแรงงานนอกระบบด้วย สองเด้ง เป็นไปได้มั้ย?
“คิดว่าเป็นไปไม่ได้นะ เพราะข้อมูลประกันสังคมก็มีอยู่ที่กระทรวงการคลังด้วย”
แต่มีคนบอกว่าได้สองเด้ง?
“มันเป็นช่วงคาบเกี่ยวพ.ร.บ. คนนั้นเขาออกจากงานไปและทำประกันว่างงานตั้งแต่เดือนธ.ค. แล้วเงินมาได้ช่วงนี้พอดี ณ ปัจจุบันไม่น่าจะมีแบบนี้แล้วนะคะ เพราะมาตรา 39 รายชื่อไปอยู่กระทรวงการคลัง เขาต้องรับทางเดียว”
เงินสายป่านยาวแค่ไหน?
“ที่เราคำนวณ 7-8 แสน มีเงินจ่ายค่ะ”
ถ้าขึ้นไป 2 ล้านไม่มีเงินจ่ายเหรอ?
“(หัวเราะ) ขอคำนวณก่อนค่ะ ต้องไปดูว่ามีเงินอยู่ที่เราเป็นเงินลงทุนด้วย ไม่ใช่เงินสดนะคะ เงินมี 4 กรณีแรก เราเอาไปลงทุนไม่ได้เหมือนกัน อาจจะหลักทรัพย์เสี่ยงสูงเสี่ยงน้อยไม่เหมือนกัน ต้องดูก่อนว่าจะทำอย่างไรได้”
ไปดูว่ากู้ได้มั้ย?
“เรื่องกู้คงกู้ไม่ได้ค่ะ”
กรณีคนจ่ายเงินค่าประกันสังคมไปไหน?
“อยู่ในกองทุน ถ้าลูกจ้างออกจากงาน อายุ 55 ปีเขาได้รับบำนาญหรือบำเหน็จก็ได้ และสมทบจากนายจ้างอีก เราต้องรอจ่ายให้ขา ไม่สามารถดึงมาจ่ายให้ได้”
กลัวไม่พอมั้ย?
“ต้องดูสถานะก่อน ถ้าไม่พอจะทำอย่างไร”
ผอ. บอกมี 6 แสนล้าน สักพักนายกฯ บอกอีกเรื่อง?
“ขอดูก่อน ไม่สามารถตอบได้ตอนนี้เลย ต้องขอดูก่อน เราลงทุนไว้ก็พอสมควร”
ให้ลงทะเบียนได้แล้ว?
“ใช่ค่ะ กฎกระทรวงบังคับใช้เมื่อไหร่ ประกาศในราชกิจจาเมื่อไหร่ก็ไม่นานเกินรอ”
กลัวเว็บล่มมั้ย?
“เคยมีประสบการณ์เหมือนกัน วันแรกจะมีปัญหา แต่ช่วงไม่นาน สามารถแก้ได้ วิธีที่ง่ายที่สุดคือกรณีเหตุสุดวิสัย ทั้งลูกจ้างและนายจ้างมัดรวมส่งมาทางไปรษณีย์เลยค่ะ”