กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขยับก้าวขึ้นเป็นผู้อำนวยการสร้างละครโทรทัศน์ เปิดตัวซีรีส์ ฮัลโหลไทยแลนด์ ละครสร้างสรรค์สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นและชุมชน

0
209

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ เตรียมผลักดัน ซอฟท์ พาวเวอร์ ไทยให้เป็นที่ประจักษ์ ล่าสุดร่วมกับสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ เฟ้นหาช้างเผือก หรือนักเขียนหน้าใหม่ที่มีความสามารถจากในแต่ละภูมิภาค มาร่วมกิจกรรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักเขียนบทละครโทรทัศน์หน้าใหม่” พร้อมนำผลงานชนะเลิศ จำนวน 5 เรื่อง มาผลิตเป็นละครสร้างสรรค์และปลอดภัย โอกาสนี้ยังมีแผนสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน นำเสนออัตลักษณ์แต่ละท้องถิ่น สอดแทรกเข้าไปในละครชุดดังกล่าว ภายในงานเปิดกล้องมีนักแสดงมืออาชีพ อาทิ เท่ห์ อุเทน, อรอนงค์ ปัญญาวงศ์ ครูนิค ศรัณย์, ไพศาล ขุนหนู, ฐิติ พุ่มอ่อน, นรินทร ณ บางช้าง ฯลฯ เข้าร่วมงานคับคั่ง เมื่อเร็วๆ นี้ (วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2565 เวลา 10:00 -12:00 น. Slole Café & Garden โชคชัย 4 (ซอย 52/1)

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตามพันธกิจของหน่วยงาน เราต้องการสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิด “สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” พร้อมสร้างนวัตกรรมสื่อแบบต่างๆ เพื่อทลายกรอบการผลิตเนื้อหาแบบเดิมๆ พร้อมเพิ่มเนื้อหาที่เป็นทางเลือก ในการรับรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น ล่าสุดเป็นผู้สนับสนุนโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักเขียนบทละครโทรทัศน์หน้าใหม่” จุดประสงค์ เพื่อผลักดัน ซอฟท์ พาวเวอร์ ไทย สู่สายตาชาวโลก และเน้นการมอบโอกาสคนรุ่นใหม่ เสมือนเป็นช้างเผือก ซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยยังมีคนที่มีพรสวรรค์ด้านการเขียนอีกมากแต่ยังขาดโอกาส และประสบการณ์ โครงการฯ นี้ได้คัดเลือกเรื่องที่น่าสนใจ จากนั้นนำช้างเผือกดาวรุ่งมาเวิร์คช้อป รับความรู้จากวิทยากรที่เป็นนักเขียนมืออาชีพ ล่าสุดกระบวนการคัดเลือก บ่มเพาะ และตัดสินเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จึงนำบทละครโทรทัศน์ ชุด ฮัลโหลไทยแลนด์ จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ ภาคเหนือ เรื่อง เภรีระบัดชัย, ภาคอีสาน เรื่อง ออนแอร์หรรษาบ้านนาโฮแซว, ภาคตะวันออก เรื่อง พัทยาซอยสุดท้าย, ภาคใต้ เรื่อง ใต้สมุทรสุดปลายฟ้า, ภาคกลางและตะวันตก เรื่อง อมรพิมาน มาผลิตเป็นละครโทรทัศน์ โดย เฟสแรกจะผลิตจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ ภาคตะวันออก เรื่อง พัทยาซอยสุดท้าย, ภาคเหนือ เรื่อง เภรีระบัดชัย, ภาคใต้ เรื่อง ใต้สมุทรสุดปลายฟ้า นอกจากนี้ยังมีแผนสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในแต่ละภูมิภาค ร่วมแสดง ร่วมให้ข้อมูล และถ่ายทอดอัตลักษณ์ของชุมชนผ่านบทละครชุดนี้ เบื้องต้น เราเชิญชวนให้คนในท้องถิ่น ร่วมแนะนำ เรื่องเล่า, วัฒนธรรม เทศกาล ประเพณี ภูมิปัญญา ผู้คน และสถานที่น่าสนใจเฉพาะคนท้องถิ่นเท่านั้นที่รู้ ผ่านกิจกรรม “ปักหมุด ฮัลโหลไทยแลนด์ (Pin It Hello Thailand) ทางสื่อโซเชียลมีเดีย เฟซบุค และยูทูป

ด้าน ตัวแทนสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์

หลายครั้งที่เราจะเห็นว่าอิทธิพลของละคร หรือซอฟท์ พาวเวอร์ มีส่วนผลักดันสังคม เศรษฐกิจ และเป็นสื่อกลางเผยแพร่วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี โครงการฯ นี้ ถือเป็นการนำร่อง การทำบทละครที่สะท้อน อัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นเป็นวิธีการทำงานแบบใหม่ ทั้งนี้ สมาคมฯ ได้มอบหมายให้นักเขียนบทละครอาชีพ คอยเป็นพี่เลี้ยงนักเขียนดาวรุ่ง ช้างเผือกในโครงการฯ พร้อมทั้งออกแบบคิดแล้ววางไอเดียสร้างสรรค์ ในลักษณะที่เป็นโปรดิวเซอร์ละครร่วมไปกับกองทุนฯ วิธีการทำงานแบบนี้ จะได้เนื้องานที่ดี เพราะเป็นแนวทางในการผลิตงานละครหรือซีรีส์แบบเดียวกับในระดับการผลิตของต่างประเทศ ที่ส่วนใหญ่ให้บทบาทของคนเขียนบทเป็นคนออกแบบแนวความคิด และเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเริ่มต้นออกแบบ สรุปข้อมูล ร่วมกับทีมผู้ผลิตและทีมผู้กำกับ เพื่อให้แนวความคิดของการสร้างสรรค์งานในเชิงการผลิตและถ่ายทอดคอนเซปต์ของเรื่องได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง ตรงประเด็น และมีชั้นเชิงที่ชวนติดตาม นับว่าเป็นมิติใหม่ในการทำงานสายผลิตการผลิตละครโทรทัศน์ในบ้านเรา ท้ายสุดต้องขอขอบคุณ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่เห็นความสำคัญ สร้างบทบาทของนักเขียนบท ไม่ใช่เพียงแค่เขียนบท หรือส่งบทให้ทีมผู้กำกับเท่านั้น แต่ยังได้ทำงานร่วมกัน เสมือนหนึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ร่วมผลิตชิ้นงาน

สำหรับรายละเอียดบทละครชุด ฮัลโหลไทยแลนด์ Hello Thailland ทั้งสามเรื่องในเฟสแรก พัทยาซอยสุดท้าย, เภรีระบัดชัย, ใต้สมุทรสุดปลายฟ้า สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบทละครโทรทัศน์โดยมอบหมายทีมพี่เลี้ยงควบคุมบทคอยช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงานของนักเขียนบทรุ่นใหม่ ดังนี้ ภาคตะวันออก เรื่อง พัทยาซอยสุดท้าย บทละครโทรทัศน์ โดย คุณเอก อันเป็นเอก ทีมพี่เลี้ยงควบคุมบท โดย คุณณัฐิยา ศิรกรวิไล 2.คุณพัฒนะ จิรวงศ์ ภาคเหนือ เรื่อง เภรีระบัดชัย บทละครโทรทัศน์ โดย ดร.ภัทธิรา วิทวัญวภิญโญ ทีมพี่เลี้ยงควบคุมบท โดย คุณเพ็ญสิริ เศวตวิหารี คุณวิมล รัตนกิตติอาภรณ์ ภาคใต้ เรื่อง ใต้สมุทรสุดปลายฟ้า บทละครโทรทัศน์ โดย คุณญาณพันธ์ พันธรักษ์ ทีมพี่เลี้ยงควบคุมบท โดย คุณยิ่งยศ ปัญญา คุณปารดา กันตพัฒนกุล กำหนดสถานที่ถ่ายทำ จังหวัดเชียงราย, พัทยา จังหวัดชลบุรี, จังหวัดนครศรีธรรมราช

ติดตามหรืออัเดตข่าวสารโครงการฯ ครั้งนี้ได้ที่ Facebook : ฮัลโหลไทยแลนด์