กทปส. เดินหน้าหนุนการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถ การให้บริการสารสนเทศชาวเขา ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ

0
718

ในยุคของเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตและเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การติดต่อสื่อสารและ        การพัฒนาระบบงานต่างๆ รวมถึงการสร้างและพัฒนาระบบต่างๆ เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น กทปส. ในฐานะองค์กรที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อนำไปสู่การพัฒนา รวมทั้งลดความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งได้มอบทุนให้กับมูลนิธิวิสาหกิจพลังงานชุมชน ในการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพการบริการสารสนเทศเพื่อสังคมผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง

หากพูดถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ หรือชาวไทยภูเขา ซึ่งเป็นประชากรที่อาศัยบนพื้นที่สูงในประเทศไทย โดยอาศัยอยู่หลายแห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลําพูน แพร่ น่าน ลําปาง ตากเพชรบูรณ์ พิษณุโลก เลย สุโขทัย กําแพงเพชร กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี ทั้งนี้พื้นที่สูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าต้นและน้ำ  ซึ่งพื้นที่กว่าร้อยละ 88 การคมนาคมมีความยากลําบาก ทําให้หน่วยงานของรัฐเข้าไปดําเนินงานได้ไม่ทั่วถึง นอกจากนี้วิถีชีวิตของประชาชนและชุมชน มีความสลับซับซ้อนและมีหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องจํานวนมาก ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจําเป็นต้องมีการวางแผนและดําเนินการอย่างบูรณาการ  เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและพัฒนาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  พร้อมกันนี้การสร้างความสมดุลในการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน  รวมทั้งระบบการสื่อสาร โทรคมนาคม ฐานข้อมูลบนพื้นที่สูงที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมและไม่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้การวางแผนและการกําหนดมาตรการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและขาดประสิทธิภาพ

นายนิพนธ์  จงวิชิต ผู้อำนวยการกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ  เปิดเผยว่า กทปส. มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมได้ครอบคลุมและทั่วทุกพื้นที่  รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรสื่อสาร  การพัฒนาบุคลาการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ  การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยในปี 2561  กทปส. ให้ทุนสนับสนุน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพการบริการสารสนเทศเพื่อสังคมผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นเฟสนําร่อง และจะมีการติดตามขยายผลนำไปสู่การพัฒนาการบริการให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น

 

จากนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้การนำเทคโนโลยีระบบการบริการดิจิทัล เพื่อการสื่อสารที่ผ่านเครือข่ายกิจการกระจายเสียง โทรทัศน์ โทรคมนาคม และระบบพลังงานที่ใช้กันในยุคปัจจุบัน ประชาชนบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่ ยังไม่มีโอกาสในการเข้าถึงและใช้งาน เพราะระบบเครือข่ายการสื่อสารดังกล่าวยังเข้าไม่ถึง ซึ่งเกิดจากข้อจํากัดเชิงพื้นที่   ทั้งนี้หากประชาชนในพื้นที่สูงมีโอกาส เรียนรู้ ที่จะทําให้ “คน” พื้นที่สูงได้มีความเข้าใจ การปฏิบัติตามนโยบาย และข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยังสามารถค้าขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ รับข่าวสาร และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน  ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าการเข้าถึงเครือข่ายบริการกิจการกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ของชุมชนบนพื้นที่สูง จะเป็นประโยชน์ในการสื่อสาร และเป็นก้าวสำคัญที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน จะใช้เป็นเครื่องมือในการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในลักษณะใหม่ New Social Movements : NSMS การจัดการกระบวนการเรียนรู้ และการสร้างการมีส่วนร่วม การอยู่รวมกันของชุมชนบนพื้นที่สูง  รวมถึงการบริหารจัดการ บริการความรู้ให้ราษฎรบนพื้นที่สูง ได้มีโอกาสรู้เท่าทันการสื่อสารสนเทศ เทคโนโลยีที่สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมสิ่งแวดล้อมปัจจุบันอย่างเท่าเทียมคนในพื้นที่ราบและชุมชนเมือง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการพึ่งพาตนเองจากทรัพยากรฐานชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ทางด้านมูลนิธิสร้างสุขชุมชน ได้รับทุนสนับสนุนเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพการบริการ สารสนเทศเพื่อสังคมผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง (นําร่อง) มีวัตถุประสงค์ 4 ด้านดังนี้ 1เพื่อการสํารวจ ออกแบบ บริบททางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ราษฎรบนพื้นที่สูงนําร่อง2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบผลิตพลังงานชุมชนจากทรัพยากรฐานชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่น (Hybrid Solar+Syngas) ให้ราษฎรบนพื้นที่สูงได้มีโอกาสใช้พลังงานระดับชุมชน และนำไปสู่การการผลิตพลังงานที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตเพื่อสังคม ระบบการสื่อสารระดับชุมชน หอกระจายเสียง ประจําหมู่บ้าน ให้ผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูงได้มีโอกาสพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนการบริหารจัดการ การบริการ ความรู้ ช่วยเหลือสังคมผู้ต้อยโอกาสบนพื้นที่สูง ที่มีข้อจํากัด ได้มีโอกาสเรียนรู้เท่าทันการสื่อสารสนเทศ เทคโนโลยีที่ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมสิ่งแวดล้อมปัจจุบันอย่างเท่าเทียมคนในพื้นที่ราบและชุมชนเมืองได้อย่างยั่งยืน และ 4. เพื่อยกระดับ และพัฒนาศักยภาพการอยู่รวมกันของชุมชนบนพื้นที่สูง สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ เชื่อมโยงกับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอด จนสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อช่วยส่งเสริมให้ราษฎรบนพื้นที่สูงเหล่านี้ ได้รับโอกาสก้าวถึงขีดความสามารถใน การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

สำหรับโครงการพัฒนาศักยภาพการบริการสารสนเทศเพื่อสังคมผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง คาดว่าประโยชน์ ทีประชาชนจะได้รับครั้งนี้ ด้านการเข้าถึงการบริการและใช้ประโยชน์คลื่นความถี่และรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถก้าวไปถึงขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเอง สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นคง และแก้ปัญหาข้อจํากัดต่างๆ ของชุมชนพื้นที่สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทางด้านบุคลากรวิทยากร เจ้าหน้าที่บริการ ดูแล ช่วยเหลือ ศูนย์อินเทอร์เน็ตเพื่อสังคมผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง มีความรู้ มีรายได้จากการบริการหลังจากสิ้นสุดโครงการ อีกทั้ง กทปส. จะมีโครงการต้นแบบที่จำใช้เป็นแนวทางนำไปปต่อยอด ขยายผลพัฒนาเครือข่ายศูนย์อินเทอร์เน็ตเพื่อสังคมชายขอบ USO NET หรือ 165 ชุมชนที่ทาง กสทช. ได้ดําเนินการมาแล้ว เพื่อให้ประชาชนและชุมขนสามารถใช้เทคโนโลยีในการพึ่งพาตนเองยั่งยืน

ทั้งนี้ โครงการพัฒนาศักยภาพการบริการสารสนเทศเพื่อสังคมผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง จะเป็นเครื่องมือและกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีขานรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0