โครงการระดมทุนและรับบริจาคเพื่อธนาคารหน้ากาก โครงการธนาคารหน้ากากเป็นโครงการระดมทุน

0
2088

โครงการธนาคารหน้ากากเป็นโครงการระดมทุน (Crowdfunding) และรับบริจาค (Donation) โดยประชาชนสามารถจองซื้อหน้ากากอนามัยได้ในราคาชิ้นละ 2.50 บาทไม่จำกัดจำนวน ซึ่งการจอง ซื้อหน้ากากอนามัยจากทางโครงการฯ จะเป็นการซื้อเพื่อใช้งานเองและเพื่อการบริจาคให้หน่วยงาน สาธารณสุข โรงเรียน และองค์กรการกุศลต่างๆตามที่ผู้ซื้อประสงค์ ในสัดส่วน 1:1 (ซื้อใช้เอง 1 ชิ้น : บริจาค 1 ชิ้น) เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนหน้ากากและสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน ร่วมกัน ต้านวิกฤตไวรัสโควิด-19ที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น และคาดว่าปัญหาการขาดแคลนหน้ากา กอนามัยจะทวีความรุนแรงตามไปด้วย หากการระบาดของไวรัสในประเทศไทยเข้าสู่ระดับ3 ยิ่งจำนวนผู้ ติดเชื้อขยายวงกว้างออกไปมากเท่าใด การสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตัวเอง และการรักษาระยะ ห่างทางสังคม (Social Distancing) จะยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้น

ปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยและการแก้ปัญหาของภาครัฐ จากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่โควิด-19 ที่เริ่มจากจีน และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นการระบาดใหญ่ หรือ Pandemic หลัง จากเชื้อลุกลามไปอย่างรวดเร็วในกว่า 110 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลก ส่งผลให้นานาชาติต้อง เผชิญกับภัยคุกคามทางสาธารณสุขครั้งใหญ่ และตามมาด้วยปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยซึ่ง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องใช้เพื่อดูแลผู้ป่วย และสำหรับประชาชนทั่วไปที่ต้อง การป้องกันตัวเองจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
การแก้ปัญหาการขาดแคลนหน้ากากในปัจจุบัน ภาครัฐได้ขอความร่วมมือจากเอกชนซึ่งเป็นโรงงาน ผลิตหน้ากากอนามัยทั้ง 11 แห่ง ให้ปรับสายการผลิตจากการผลิตหน้ากากชนิดอื่นๆ เช่น หน้ากาก คาร์บอน และ N95 มาเป็นการผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Medical Mask) ซึ่งได้รับความร่วม มือจากโรงงานผลิตเป็นอย่างดี ทำให้มีหน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 1.2 ล้านชิ้น เป็น 1.56 ล้านชิ้นต่อวัน และล่าสุด 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 2.2 ล้านชิ้น โดย กระจายให้กระทรวงสาธารณสุขวันละ 1.3 ล้านชิ้น เพื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณ สุข โรงพยาบาลกรมการแพทย์ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สถานพยาบาลเอกชน สมาคมคลินิกไทย โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย สถานพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร และสำนักอ นามัย เป็นต้น ส่วนที่เหลืออีก 9 แสนชิ้น กรมการค้าภายในบริหารจัดการโดยนำไปกระจายให้กลุ่ม เสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ถูกกักตัวที่อยู่ในจังหวัดต่างๆ ผู้ทำงานในกลุ่มแพทย์ฉุกเฉิน รวมถึงกลุ่มเสี่ยง เดิม เช่น ผู้ให้บริการในสนามบิน ตรวจคนเข้าเมือง ส่วนประชาชนทั่วไปได้กระจายผ่านร้านธงฟ้า เซ เว่นอีเลฟเว่น เทสโก้โลตัส แม็คโคร บิ๊กซี วิลล่ามาร์เก็ต ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอินทนิล และคาเฟ่ อเมซอน


อย่างไรก็ตามจำนวนหน้ากากอนามัยดังกล่าวยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน และไม่มีแนวโน้ม ที่จะเพียงพอ เพราะเกิดการกักตุนโดยธรรมชาติที่เกิดจากประชาชนกักตุนหน้ากากไว้ใช้งานด้วยกลัว สินค้าขาดตลาด และการกักตุนแบบไม่เป็นธรรมชาติที่เกิดจากการเก็งกำไรของผู้ค้า ทำให้กลไกราคา สินค้าบิดเบือนไป เป็นผลให้ประชาชนต้องซื้อหน้ากากในราคาสูงถึงชิ้นละ 10-20 บาท แม้ว่ารัฐจะกำ หนดให้หน้ากากอนามัยเป็นสินค้าควบคุมราคาให้ซื้อขายในราคาไม่เกินชิ้นละ 2.50 บาทก็ตาม
maskbank.org

ปัญหาด้านวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหน้ากากที่ต้องนำเข้าจากจีน ไต้หวัน และอินโดนีเซีย ซึ่งในปัจจุบัน ไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากจีนได้เพราะจีนเองก็มีความต้องการใช้หน้ากากอนามัยภายในประเทศ มากจนไม่สามารถส่งออกได้ ขณะที่วัตถุดิบจากไต้หวันนำเข้าได้ลดลงและแนวโน้มคล้ายจีน จึงมีเพียง วัตถุดิบจากอินโดนีเซียที่ยังนำเข้าได้ แต่มีการเลื่อนเวลาการส่งออกและขึ้นราคาวัตถุดิบเกือบเท่าตัว

การแก้ปัญหาของภาคเอกชนขนาดใหญ่
คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ประกาศเตรียมลงทุน 100 ล้าน บาท เพื่อสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยแจกฟรี สำหรับแก้ปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน โดยการลงทุนเพื่อผลิตหน้ากากอนามัยครั้งนี้ คาดว่าจะสามารถนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนได้ ภายใน 5 สัปดาห์ หรือช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์ และจะทำการแจกจ่ายจนกว่าวิกฤตไวรัส COVID-19 จะผ่านพ้นไปแล้ว ส่วนโรงงานที่สร้างขึ้นมานั้น ทางซีพีจะมอบกรรมสิทธิ์ให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยจะเข้าไปช่วยในส่วนของการบริหารจัดการสำหรับผลิตและจำหน่ายหน้ากากอนามัยในราคาที่เป็น ธรรมให้กับเครือข่ายโรงพยาบาลทั่วประเทศ รวมถึงนำรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้แผนก หัวใจของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมแต่ก็สามารถเพิ่มจำนวนผลิตได้เพียงไม่ ถึง 10% ของกำลังการผลิตในปัจจุบันเท่านั้น


การแก้ปัญหาแบบ Startup โดยใช้แนวความคิดแบบ Crowdfunding Donation โครงการธนาคารหน้ากากจะระดมทุนโดยให้ประชาชนทุกคนสามารถจองซื้อหน้ากากอนามัยได้ใน ราคาชิ้นละ 2.50 บาทไม่จำกัดจำนวน (ซึ่งเมื่อซื้อได้ไม่จำกัดจำนวนจะมีผลทางจิตวิทยาทำให้ไม่ต้อง กักตุน) ผู้ซื้อจะต้องระบุจำนวนที่จะใช้จริงในครอบครัวหรือในหน่วยงานของตน และทางโครงการฯจะจัด ส่งให้ตามปริมาณการใช้ต่อเดือนทางไปรษณีย์ และการซื้อหน้ากากอนามัยจากทางโครงการฯ จะเป็น การซื้อเพื่อใช้งานเองและเพื่อการบริจาคให้หน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาล โรงเรียน และองค์กร การกุศลต่างๆตามที่ผู้ซื้อประสงค์ ในสัดส่วน 1:1 (ซื้อใช้เอง 1 ชิ้น : บริจาค 1 ชิ้น) เพื่อเป็นการ บรรเทา ปัญหาการขาดแคลนหน้ากาก และสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันร่วมกันต้านวิกฤตไวรัสโควิด-19 ซึ่งหน้า กากเพื่อการบริจาคนี้จะพิมพ์สลากว่าห้ามจำหน่ายและใช้สำหรับแจกได้เท่านั้น และเมื่อได้มีการนำ ไปบริจาคยังหน่วยงานต่างๆ จะมีใบตอบรับหรือหลักฐานการรับบริจาคส่งไปยังผู้บริจาคผ่านทาง แพลตฟอร์มออนไลน์
การระดมทุนนำไปสู่การตั้งโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานในแต่ละภูมิภาค โดยจดทะเบียน เป็นวิสาหกิจชุมชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรและเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย ซึ่งจะใช้เวลา ประมาณ 6 สัปดาห์ โดยขอความอนุเคราะห์จากท่านทูตจีนประจำประเทศไทยประสานการ นำเข้าเครื่อง จักรจากจีน และทำการสั่งวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตจากอินโดนีเซียโดยการอนุเคราะห์ของท่านทูตไทย ประจำอินโดนีเซีย และในระยะยาวมีแผนในการนำเข้าเครื่องผลิตฟิลเตอร์ทำแผ่นหน้ากากเองเพื่อแก้ ปัญหาการนำเข้าวัตถุดิบ โดยขอความอนุเคราะห์เรื่องสิทธิภาษี BOI การนำเข้าเครื่องจักรปลอดภาษี ผ่านทางกระทรวงอุตสาหกรรม
ความร่วมมือกับสมาคมร้านขายยา ช่องทางจำหน่ายอื่นๆ
ร้านขายยาสั่งซื้อผ่านทางสมาคมร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อหรือกิจการทางการค้าเช่นศูนย์การค้าสรรพ สินค้าและอื่นๆ สามารถสั่งซื้อได้ไม่จำกัด แต่ต้องจำหน่ายในราคาชิ้นละ 2.50 บาท และเมื่อจำหน่ายได้
maskbank.org

แล้วก็สามารถนำเงินกลับมาสั่งซื้อเพื่อให้มีของหมุนเวียนขายอย่างสม่ำเสมอ เป็นจุดบริการ ประชา ชนได้อย่างทั่วถึง โดยหน้ากากส่วนนี้ จะถูกพิมพ์สลากว่าจำหน่ายในราคาควบคุม 2.50 บาทหากมีการ ขายเกินราคาจะถูกตัดสิทธิ์ในการซื้อและแจ้งทางราชการเพื่อให้ดำเนินคดีต่อไป

ทั้งนี้เป้าหมายของโครงการธนาคารหน้ากากในการทำ Crowdfunding Donation คือการเปิดโรงงาน ในทุกภูมิภาคของประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานได้ทั่วทั้งประเทศ และเมื่อปัญหา การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เบาบางลง โรงงานก็สามารถกลับมาผลิตหน้ากากชนิดอื่นๆ เช่น หน้ากากคาร์บอน และ N95 เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 แทน โดยใช้แนวคิดที่เป็นหลักการเดียวกันคือขาย ในราคาที่ควบคุมเพื่อปรับสมดุลกลไกตลาด ไม่ให้เกิดการไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน และในอ นาคตเมื่อการผลิตและการใช้งานภายในประเทศมีอย่างเพียงพอแล้ว หากมีประเทศที่ประสบปัญหาขาด แคลนหน้ากากอนามัย โครงการธนาคารหน้ากากก็จะสามารถยื่นมือเข้าช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม
แนวทางการขอการสนับสนุนโครงการ


1.ขอยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อไม่เพิ่มภาระให้กับ ประชาชน
2. ขอยกเว้นภาษีใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริจาค เนื่องจากไม่ได้เป็นการทำธุรกิจแต่เป็นการแบ่งปันของ คนในสังคม
3. ขอเร่งรัดเป็นกรณีเร่งด่วนเกี่ยวกับการขออนุญาตเพื่อสร้างและเปิดใช้โรงงานตลอดจนการผลิตการ รับรองมาตรฐานเพื่อให้สามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้เร็วที่สุดภายใต้แนวความคิดที่เรากำลังอยู่ใน ภาวะฉุกเฉินในการขาดแคลนหน้ากากอย่างรุนแรงซึ่งเป็นการที่จะสามารถคลายความกังวลและบรรเทา ความเดือดร้อนของประชาชนทั่วประเทศ
4. ขอการสนับสนุนจากหน่วยงานในกำกับของรัฐบาลเช่นไปรษณีย์ไทยในการช่วยส่งหน้ากากอนามัย ให้ถึงมือประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือในค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด
5. ขอการสนับสนุนจากรัฐวิสาหกิจร่วมบริจาคเพื่อร่วมแบ่งปันหน้ากากอนามัยไปยังผู้ด้อยโอกาสและ หน่วยงาน องค์กรการกุศลต่างๆ
6. ขอการสนับสนุนจากกระทรวงต่างประเทศในการประสานงานกับท่านทูตประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วย เหลือให้โครงการรวดเร็วและลุล่วงไปได้ด้วยดี
พันธมิตรที่ให้การสนับสนุนโครงการ
1. โครงการนักรบสีขาว เพื่อแพทย์และพยาบาล ภายใต้การร่วมมือกับ แพทยสมาคม แพทยสภา และ หน่วยงานองค์กรต่างๆทั้งรัฐและเอกชน จะให้ความช่วยเหลือในการประสานงานส่งต่อหน้ากากที่จะได้ รับบริจาคไปมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้กับวิกฤตการณ์ครั้งนี้
2. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จะให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับเทคโนโลยี ในการผลิต และนวัตกรรมต่างๆในอนาคต
3. บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (มหาชน) จะร่วมเป็นพันธมิตรในการจัดส่งหน้ากากอนามัยถึงบ้านเพื่อ อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
maskbank.org

4. สมาคมร้านขายยา ช่วยกระจายหน้ากากอนามัยให้เข้าถึงประชาชนตามตรอกซอกซอยซึ่งจะเป็นผล ดีต่อการช่วยคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อ โดยสามารถช่วยสังเกตอาการกับประชาชนที่มาขอ คำปรึกษาหรือมาซื้อยาลดไข้
5. ศิลปิน ดารา Net Idol ตลอดจนประชาชนทั่วไป ที่จะร่วมเป็นอาสาสมัคร เป็นทูตอาสาของโครงการ และช่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโครงการได้ โดยผ่านการใช้โซเชียลมีเดีย ติด #หน้ากาก 2.50 บาทมีจริง และร่วมรณรงค์โดยเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ Facebook ของตนด้วยภาพ Facebook Frame ของทางโครงการ
เป้าหมายการระดมทุนและการบริจาค
สั่งจองหน้ากาก 1,000 บาท ราคาชิ้นละ 2.50 บาท
จะได้รับหน้ากากจำนวน 400 ชิ้น (เพื่อนำไปใช้เอง 200 ชิ้น/บริจาค 200 ชิ้น)
เป้าหมาย 100,000 คน
สั่งจองหน้ากากคนละ 1,000 บาท = 100 ล้านบาท = ยอดสั่งซื้อ 40,000,000 ชิ้น
(กำลังการผลิตต่อ 1โรงงานผลิตได้ 120,000 ชิ้น/วัน หรือ 3,600,000 ชิ้นต่อเดือน หรือ 43,200,000 ชิ้นต่อปี เพียงพอสําหรับยอดจอง 40,000,000 ชิ้น/ปี)
ดังนั้น หากมีการสั่งจองหน้ากาก 1,000,000 คน ก็จะสามารถสร้างโรงงานได้ 10 แห่งทั่วทุกภูมิภาค การสั่งจองหน้ากากอนามัย

สั่งจองโดยการกรอกข้อมูลคำสั่งจองซื้อผ่านช่องทาง Social Media และ เวปไซต์ของโครงการ www.maskbank.org
การจองซื้อหน้ากากอนามัยจากทางโครงการฯ จะเป็นการซื้อเพื่อใช้งานเองและเพื่อการบริจาคให้หน่วย งานสาธารณสุข โรงเรียน และองค์กรการกุศลต่างๆตามที่ผู้ซื้อประสงค์ ในสัดส่วน 1:1 (ซื้อใช้เอง 1
ชิ้น : บริจาค 1 ชิ้น) เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนหน้ากากและสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน โดยกำหนดให้จองซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท = หน้ากากอนามัยจำนวน 400 ชิ้น จัดส่งทางไปรษณีย์ดังนี้:
– ผู้จองซื้อจะได้รับหน้ากากจำนวน 200 ชิ้น (ทะยอยรับตามการใช้งานจริงต่อเดือนเพื่อให้การ กระจายหน้ากากเป็นไปอย่างทั่วถึง)
– โครงการจัดส่งหน้ากากจำนวน 200 ชิ้นบริจาคให้กับหน่วยงานที่ระบุไว้ในข้อมูลผู้รับบริจาค ในนามของผู้จองซื้อ
maskbank.org