ครั้งแรกของไทย “จุฬาฯ” ผนึก “SkillLane” ปั้นแพลตฟอร์ม GenEd UC Cloud Learning ให้นิสิตนักศึกษาเรียนวิชาการศึกษาทั่วไปข้ามมหาวิทยาลัยได้

0
847

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยภายใต้เครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาทั่วไป ภาคกลางตอนบน (Upper Central: UC) และ SkillLane บริษัท Online Learning Platform อันดับหนึ่งของไทย พัฒนาระบบเรียนออนไลน์ GenEd UC Cloud Learning ให้นิสิตนักศึกษาทุกคณะในเครือข่ายฯ เรียนรายวิชาการศึกษาทั่วไปหรือ General Education ข้ามสถาบันได้เป็นครั้งแรกของไทย มุ่งยกระดับคุณภาพบัณฑิตและสังคมไทยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของอนาคต

ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมผลิตเนื้อหาวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามเป้าหมายของ General Education ผ่านระบบดังกล่าวแล้ว สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยมีวิชาที่พร้อมให้ลงทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 40 วิชา เช่น วิชา Fun with AI วิชา Critical Thinking for Business วิชา Digital Disruption และ วิชา Value Proposition และอยู่ระหว่างการขยายความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของออนไลน์คอนเท้นต์ให้แก่มหาวิทยาลัยในเครือข่ายฯ เพิ่มเติม

ทั้งนี้ จุฬาฯ มีความตั้งใจว่าความร่วมมือครั้งนี้จะต่อยอดไปสู่การพัฒนาในอนาคต โดยในระยะที่ นิสิตนักศึกษาจะสามารถใช้ระบบ GenEd UC Cloud Learning ในการเรียนเพื่อเก็บหน่วยกิตข้ามสถาบันได้ และในระยะที่ มหาวิทยาลัยในเครือข่ายจะเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถเรียนผ่านทางออนไลน์เพื่อเก็บหน่วยกิตในคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ซึ่งจะสามารถโอนถ่ายหน่วยกิตเมื่อผู้เรียนได้เข้ามาเป็นนิสิต นักศึกษาของมหาวิทยาลัยในเครือข่ายนั้น ๆ แล้ว

รศ.ดร. แนบบุญ หุนเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า “ความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของการศึกษาเพื่อทุกคน โดยมุ่งหวังจะให้ระบบ GenEd UC Cloud Learning ที่พัฒนาร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชนอย่าง SkillLane เป็นคลังสมองออนไลน์ของนิสิตนักศึกษาทุกคนให้สามารถเลือกเรียนรายวิชาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเครือข่ายฯ  ได้หลากหลายตามความสนใจ ผมเชื่อว่าระบบนี้จะเป็นต้นแบบการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาให้กับเครือข่ายอื่นได้ต่อไป

ด้าน รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการศึกษาครั้งใหญ่ โดยคาดว่าในอนาคต ความร่วมมือนี้จะพัฒนาไปสู่เป้าหมายในระยะที่ และระยะที่ ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือของส่วนในหลายมหาวิทยาลัย

โดยระยะที่ นิสิตนักศึกษาสามารถใช้รวมกับเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อเก็บเป็นหน่วยกิตของวิชาศึกษาทั่วไปตามข้อบังคับของหลักสูตร โดยจะสามารถเก็บหน่วยกิตจากวิชาที่สอนโดยอาจารย์จากต่างสถาบันได้

ระยะที่ 3  บุคคลทั่วไปสามารถเรียนหลักสูตรเพื่อเทียบเป็นหน่วยกิตย่อย (Micro-credit) ผ่านระบบออนไลน์ดังกล่าวในรูปแบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) และจะสามารถโอนถ่ายหน่วยกิตเมื่อผู้เรียนได้เข้ามาเป็นนิสิต นักศึกษาของมหาวิทยาลัยในเครือข่ายนั้น ๆ แล้ว ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมสามารถลองศึกษาวิชาที่ตนเองสนใจและเก็บหน่วยกิตไว้ล่วงหน้า และสามารถโอนถ่ายหน่วยกิตได้ทันทีที่เข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาที่จะ สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัดเพื่อทุกคน

นายฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง SkillLane กล่าวเสริมว่า “โครงการนี้จะช่วยทำให้นิสิต นักศึกษาก้าวข้ามขีดจำกัดการเรียนรู้เพราะเป็นการรวมความรู้ ความสามารถของหลายๆ มหาวิทยาลัยมาไว้ด้วยกัน และเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาเรียนรู้จากอาจารย์ที่่มีความสามารถและมุมมองที่หลากหลายจากต่างมหาวิทยาลัยได้ ดังนั้นในฐานะที่ SkillLane มีความเชี่ยวชาญด้านการให้บริการระบบเรียนออนไลน์ เราพร้อมสนับสนุนความร่วมมือในครั้งนี้อย่างเต็มที่ มุ่งพัฒนาระบบเรียนออนไลน์ให้ใช้งานง่าย ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเรียนรูปแบบอื่นให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน