“รมว.ดีอีเอส” มองไกล มอบ “สถาบันไอโอที-ดีป้า” เตรียมการล่วงหน้า จับมือ “เอไอเอส” ติดตั้งเซนเซอร์วัดฝุ่น PM 2.5 200 จุด นำร่อง 3 จังหวัด

0
902

“รมว.ดีอีเอส” มองไกล มอบ “สถาบันไอโอทีดีป้า” เตรียมการล่วงหน้า
จับมือ “เอไอเอส” ติดตั้งเซนเซอร์วัดฝุ่น 
PM 2.5 200 จุด นำร่อง จังหวัด อีอีซี
ต่อยอด 
NB-IoT ส่งรายงานค่าฝุ่นแบบเรียลไทม์ ผ่าน แอปฯ “depa PM 2.5

แม้ยังคงมีวิกฤตโควิค-19 แต่ รมว.ดีอีเอส ไม่นิ่งนอนใจปัญหาฝุ่น มอบ สถาบันไอโอทีและนวัตกรรม โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เตรียมรับมือ โดยร่วมกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น และ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 รวม 200 จุด ชูระบบ NB-IoT Network ส่งข้อมูลเข้า Data Center ประมวลผล พร้อมรายงานข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน “depa PM 2.5” แบบเรียลไทม์ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ประชาชนได้ใช้เพื่อรับมือกับปัญหาฝุ่นควันและมลพิษ นำร่อง จังหวัดในอีอีซี (ระยอง ชลบุรี และ ฉะเชิงเทรา) เตรียมต่อยอดขยายในพื้นที่เมืองอัจฉริยะทั่วประเทศ

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เผยว่า ความร่วมมือระหว่างสถาบันไอโอทีและนวัตกรรม (IoT and Innovation Institute) หน่วยงานภายใต้การกำกับของดีป้า และเอไอเอส ในครั้งนี้เป็นการต่อยอดจากการเดินหน้าหาพันธมิตรเพื่อร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลและสังคม (ดีอีเอส) ได้มอบหมายให้ดีป้า สานต่อพันธมิตรเพื่อมุ่งขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ดีป้าได้เล็งเห็นในความสำคัญของการเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ จึงได้จับมือเอไอเอส ร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยไอโอที โดยติดตั้งเซนเซอร์วัดค่าความชื้น อุณหภูมิ และ ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 200 จุด พร้อมกับพัฒนาแอปฯ depa PM 2.5 เพื่อใช้ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศ  โดยนำร่อง ในพื้นที่ จังหวัดอีอีซี เนื่องจากเป็นพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษเป็นอย่างมากเนื่องจากมีโรงงานขนาดใหญ่ และ ระบบการขนส่งทั้งทางรถบรรทุกและเรือจำนวนมาก

ไอโอที” หรือ Internet of Things เป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายจุดประสงค์ เช่นในภาคการเกษตรไอโอทีก็สามารถนำมาปรับใช้วัดค่าความชื้นและอุณหภูมิในดินและสั่งการให้อุปกรณ์อื่น ๆ ทำงานได้อย่างอัตโนมัติตามความเหมาะสมกับพืชผล สำหรับครั้งนี้ได้มีการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดค่าคุณภาพอากาศ พร้อมพัฒนาแอปฯสำหรับรายงานค่าคุณภาพอากาศได้แบบเรียลไทม์ พร้อมการแจ้งเตือนสถาพอากาศพื้นที่ที่มีการเลือกติดตาม และ แนะนำวิธีดูแลตัวเอง โดยมุ่งที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยไอโอทีในอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ได้มีการวางแผนที่จะขยายระบบไปในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เริ่มจากพื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะ เช่น ภูเก็ต กระบี่ อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ และพิษณุโลก เป็นต้น ตอบโจทย์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม” ผอ.ใหญ่ ดีป้า กล่าวเสริม

ด้าน นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กรของเอไอเอสเผยว่า เอไอเอสได้รับการส่งเสริมจากดีป้าในการพัฒนาระบบเพื่อติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์ และ พัฒนาแอปพลิเคชัน โดยร่วมกับพันธมิตรด้านไอโอทีพัฒนาชุดอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม ซึ่งภายในประกอบด้วยเซนเชอร์วัดค่าความชื้น อุณหภูมิ และ ค่าฝุ่น PM 2.5 โดยข้อมูลต่าง ๆ ที่วัดได้จะถูกส่งข้อมูลกลับไปยัง Magellan (IoT Platform ของเอไอเอส) ผ่านเครือข่าย NB-IoT ซึ่งเป็นระบบส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สาย ใช้พลังงานต่ำ แบตเตอรี่สามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี และมีสัญญาทะลุทะลวงสูง มีพื้นให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ โดยการทำงานเซนเซอร์จะทำการตรวจวัดค่าทุก ๆ 5 นาที และ จะส่งข้อมูลไปยัง Magellan เพื่อประมวลผลข้อมูล และแสดงผลเป็นค่าความชื้นในอากาศ อุณหภูมิ และ ค่าฝุ่น PM 2.5 รายงานผลพื้นที่ถึงในระดับตำบล กระจายพื้นที่ 3 จังหวัดอีอีซี นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเป็น Dashboard แสดงผลสรุปรายดือนในรูปแบบของ Web Based เพื่อให้ผู้บริหารเมือง หรือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเมืองได้สามารถนำมาเป็นข้อมูลเพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนาเมืองที่ตอบโจทย์ประชาชนได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น นอกจากการให้บริการข้อมูลในแบบเรียลไทม์แล้ว เอไอเอส จะมีแผนบูรณาการข้อมูลร่วมกับเครือข่ายนักวิจัย โดยจะร่วมวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่(Big Data) ให้สามารถวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์สภาพอากาศล่วงหน้า สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากร และการดูแลประชาชนในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

นอกจากนี้ ผอ.ใหญ่ ดีป้า เผยเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 และส่งผลถึงชีวิต ซึ่งดีป้าก็ได้เดินหน้าเพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ประชาชนผ่านวิกฤตไปให้ได้ แต่สำหรับปัญหาฝุ่นละอองประเทศไทยเราก็ยังต้องเผชิญทุกปี โดยเฉพาะฤดูที่มีความกดอากาศต่ำ ถึงจะไม่ส่งผลอย่างรวดเร็วแต่ก็เกิดการสะสมจนส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนได้ ลำพังมนุษย์เราเองคงตอนนี้ ถึงจะรณรงค์ด้านต่าง ๆ แต่ยังไม่สามารถที่จะกอบกู้ความสมบูรณ์ของชั้นบรรยากาศที่ดีกลับมาได้ทันที สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือการหลีกเลี่ยงและป้องกัน ซึ่งการร่วมมือกับเอไอเอสในครั้งนี้ก็เป็นการพัฒนาเครื่องมือสำหรับประชาชนให้ได้คอยตรวจสอบคุณภาพอากาศที่ใกล้เคียงเวลาจริงมากที่สุด เพื่อเตรียมรับมือป้องกัน หลีกเลี่ยง พร้อมลดความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษในอากาศได้

            สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “depa PM 2.5” ได้แล้ววันนี้ ทั้งระบบ iOS และ Android ทาง http://onelink.to/depapm หรือ สแกน QR Code