ตั้งการ์ดสู้ Long COVID โรคหายแต่ร่างกายยังต้องสู้

0
334

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลเริ่มคลายล็อกดาวน์และปรับลดระยะเวลาเคอร์ฟิว ทำให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ห้างร้านต่างๆ เริ่มมีผู้ใช้บริการหนาตา ประชาชนบางส่วนก็เริ่ม ลดการ์ด ถอดหน้ากากตอนอยู่นอกบ้าน เริ่มไม่เคร่งครัดเรื่องระยะห่าง ซึ่งอาจนำเราทุกคนเข้าสู่อันตรายอีกครั้ง สงครามระหว่างเราและ COVID-19 ยังไม่จบลงง่ายๆ เพราะคนที่หายจากโรค COVID-19  ก็อาจมีภาวะ Long Covid และยังส่งผลในการดำเนินชีวิตทั้งระยะสั้น และระยะยาว ที่แม้ว่าจะรักษาหายแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายสนิทดี ดังนั้น พญ.พิชชาพร  เมฆินทรพันธุ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลวิมุต ได้ให้คำแนะนำว่าเราควรสังเกตอาการของตัวเองและเตรียมรับมือเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกาย

Long COVID อาการหลากหลาย ครอบคลุมทั้งกายและใจ
           Long COVID คือผลกระทบระยะยาวจากโรค COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วย COVID-19 แม้ว่าจะพ้นการติดเชื้อไปแล้ว อาการแสดงจะมี 3 ลักษณะดังต่อไปนี้
1. กลับมามีอาการใหม่หรืออาการเดิมยังอยู่ (
New or ongoing symptoms) พบในผู้ป่วยที่เคยมีอาการรุนแรง ได้แก่ เป็นไข้ ปวดหัว วิงเวียน หายใจไม่อิ่ม ไอ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องเสีย ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน มีอาการชา ปวดกล้ามเนื้อ รับกลิ่นหรือรสได้ไม่ดี
2. เกิดความผิดปกติในหลายอวัยวะ (
multiorgan effects) เนื่องจากขณะที่มีการติดเชื้อ ได้เกิดกระบวนการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทั่วร่างกาย มีการหลั่งของcytokinesซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะอักเสบในระบบอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย มิได้เฉพาะเจาะจงแค่ระบบทางเดินหายใจเท่านั้น  ไม่ว่าจะเป็นระบบหัวใจ ระบบประสาท ระบบฮอร์โมน ระบบย่อยอาหาร ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นต้น

            3.ผลกระทบระยะยาวจากการนอนโรงพยาบา ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานๆ จะไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวตัว ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบ แขนขาไม่ค่อยมีแรง การรับรู้ความรู้สึกของข้อและการทรงตัวแย่ลง  นอกจากนี้การนอนโรงพยาบาลนานจะเกิดผลกระทบต่อจิตใจ เช่น รู้สึกเบื่อหน่าย หดหู่ รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่สดชื่นแจ่มใส

ผู้ป่วยบางรายที่เคยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ อาจเข้าสู่ภาวะผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบเหตุการณ์รุนแรงได้ (post-traumatic stress disorder; PTSD)

คำว่า Long นี้นานแค่ไหน
นอกจากจะรบกวนทั้งกายและใจแล้ว อาการ Long COVID ยังถือว่ากินเวลา “Long” สมชื่อ จากผลการวิจัยของโครงการศึกษาระดับนานาชาติพบว่า ผู้ป่วยจำนวน 3,762 คนจาก 56 ประเทศ มีอาการจาก Long-COVID รวม 203 อาการ โดยจะมี 1 ใน 3 อาการที่เกิดขึ้นยาวนานอย่างน้อย 6 เดือน ทั้งนี้ในผู้ป่วยที่เป็นเด็กบางราย ผลกระทบยังคงอยู่ต่อเนื่องเป็นปี

Check list อาการ Long COVID-19 ที่ควรพบแพทย์หากสงสัยว่าคุณกำลังเผชิญกับ Long COVID อยู่หรือไม่ ลองสังเกตร่างกายตามอาการดังต่อไปนี้
1. อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
2. เหนื่อยล้าได้ง่ายขึ้นแม้ในตอนทำกิจวัตรประจำวัน
3. พูดคุยต่อเนื่องได้สั้นลง ต้องพักหายใจบ่อยขึ้น
4. สมองล้า สมาธิความจำและการตัดสินใจช้าลงหรือมีประสิทธิภาพลดลง
5. หน้ามืด วิงเวียนบ่อยขึ้น
6. มวลกล้ามเนื้อลดลง กล้ามเนื้อลีบหรือเหลวมากขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง
7. เคลื่อนไหวร่างกายหรือทรงตัวลำบาก

นอกจากนี้ พญ.พิชชาพร  ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมว่า  หากพบอาการต้องสงสัย อยากได้ความแน่ใจก็สามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่ แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลวิมุต เรามีโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพที่สามารถทำได้ทั้งที่โรงพยาบาลและ
Telemedicine ไม่ว่าจะเป็นการฝึกการหายใจ  ฝึกบริหารปอดและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ เพิ่มสมรรถภาพของระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ฝึกการทรงตัว ไปจนถึงการให้ Oxygen Supplement ในระหว่างฝึกฟื้นฟูเพื่อลดความเหนื่อยล้า รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญดูแลในทุกขั้นตอนอีกด้วย

กันไว้ดีกว่าแก้ นอกจากจะส่งผลกระทบยืดเยื้อยาวนานและลดทอนสุขภาวะของร่างกายโดยรวมแล้ว Long COVID ยังไม่มีแนวทางในการรักษาชัดเจน นอกจากจะรักษาฟื้นฟูไปตามอาการ ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดคือระมัดระวังตัวไม่ให้ติดตั้งแต่แรก หมั่นล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย รักษา Social Distance ให้นานที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น ดูแลตัวเองและครอบครัวให้ร่างกายแข็งแรงอยู่ตลอด และอย่าลังเลที่จะปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการหรือเกิดความกังวลใจ

ไม่ว่าจะ COVID-19 หรือ Long COVID ถ้าคุณไม่ลดการ์ด ความไม่ประมาทช่วยได้เสมอ แต่ถ้าหากต้องการรับการดูแลเพื่อฟื้นฟูร่างกายหลังหายป่วยจากCOVID-19 โรงพยาบาลวิมุตยินดีให้บริการ สามารถติดต่อนัดหมายศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 10 โรงพยาบาลวิมุต โทร. 02 079 0024 เวลาทำการ 08.00 – 20.00 น. หรือ Call Center โทร. 02 079 0000 หรือ Line OA Vimut Hospital