ซีพีแรม กรมประมง สานต่อความยั่งยืน ยกระดับความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) กับโครงการ “ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย” พร้อมร่วมปล่อยลูกพันธุ์ปูม้ากว่า 200,000 ตัว

0
800

บริษัท ซีพีแรม จำกัด ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 3 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมประมง เดินหน้าร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาศูนย์แหล่งความรู้ด้านปูม้า จังหวัดสุราษฎร์ธานี หวังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการเพาะพันธ์ลูกปูม้า พร้อมเดินหน้าโครงการ “ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย” หวังเสริมสร้างความตระหนักในสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติเกิดยั่งยืนของปูม้าในท้องทะเลไทย สนับสนุนเงินในการเพาะเลี้ยงลูกปูม้าในระยะ Young Crab จำนวน 200,000 ตัว ปล่อยสู่ท้องทะเลในพื้นที่เกาะเสร็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมผนึกกำลังร่วมกับหลายภาคส่วนในการผลักดันปูม้าให้ยั่งยืนคู่ทะเลไทย

นายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด เปิดเผยว่า การปรับปรุงและพัฒนาศูนย์แหล่งความรู้ด้านปูม้า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการเพาะพันธ์ลูกปูม้า พร้อมเดินหน้าโครงการ “ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย” ได้ร่วมกับคณะผู้บริหาร และพนักงานบริษัท ซีพีแรม จำกัด ได้รับเกียรติจากนายเจริญศักดิ์ วงศ์สุวรรณ นายอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ดร.สุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง , ผู้บริหารศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 3(สุราษฎร์ธานี) และผู้บริหารบริษัท วิยะเครปโปรดักส์ จำกัด (ในฐานะผู้ส่งมอบวัตถุดิบให้ซีพีแรม) ร่วมปล่อยลูกพันธุ์ปูม้า ระยะ Young Crabคืนสู่ทะเลกว่า 200,000 ตัว หนึ่งในภารกิจขับเคลื่อนโครงการ ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย ซึ่งดำเนินการมากว่า 5 ปี ปล่อยลูกพันธุ์ปูม้าระยะ Young Crab คืนสู่ทะเลไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณปูม้าในพื้นที่บริเวณชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี มุ่งหวังเป็นการยกระดับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของการอนุรักษ์ปูม้า และระบบนิเวศของท้องทะเลไทย

โดย ครั้งนี้ได้มีหลายภาคส่วนได้เข้าร่วมปล่อยลูกพันธุ์ปูม้าระยะ Young Crab  คืนสู่ทะเลไทย อาทิ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุราษฎร์ธานี, องค์กรประสานความร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, ส่วนราชการอำเภอไชยา, ส่วนราชการตำบลพุมเรียง, ชาวบ้านตำบลพุมเรียง, กลุ่มอนุรักษ์อ่าวพุมเรียง, กลุ่มธนาคารปูอ่าวพุมเรียง, นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีรวมทั้งสิ้นกว่า 150 คน ในกิจกรรมครั้งนี้

นายวิเศษ กล่าวอีกว่า โครงการ ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทยจะเป็นกรณีศึกษาให้กับโครงการอื่นๆ ในเรื่องการจัดการห่วงโซ่อุปทาน SupplyChain Management ที่เกิดผลตามแนวทางFOOD 3S ขององค์กร (Safety, Security and Sustainability) โดยผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ อันได้แก่ ชาวประมง บริษัท วิยะเครปโปรดักส์ จำกัด (ผู้แปรรูปเนื้อปู) บริษัท ซีพีแรม จำกัด (ผู้ผลิตอาหาร) และผู้บริโภค รวมถึงศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 3 (สุราษฎร์ธานี) เป็นผู้สนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อให้การจัดการอนุรักษ์คุ้มครอง และการพัฒนาการประมงปูม้าในทะเลไทยบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ

อีกทั้ง โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำประมงปูม้าให้เป็นไปอย่างรับผิดชอบต่อพื้นที่ ไม่มีผลเสียต่อระบบนิเวศวิทยาทรัพยากรและคุณภาพสิ่งแวดล้อม มุ่งหวังการเพิ่มมูลค่าปูม้าจากการแปรสภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานทางสุขอนามัยให้ได้ผลิตภัณฑ์ปูม้าที่มีคุณภาพสำหรับการบริโภค ประกันการรักษามาตรฐานและด้านสาธารณสุข คุณภาพอาหารอีกด้วย โดยเราต้องการให้การสนับสนุนความร่วมมือการวิจัยด้านประมงและการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างความมั่นคง ความยั่งยืนทางอาหาร การทำมาหากินของชาวประมงพื้นบ้าน

นายวิเศษ เปิดเผยอีกว่า การดำเนินการโครงการดังกล่าวคาดหวังในระยะยาว ต้องการอนุรักษ์พันธุ์ปูม้าในพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ไม่ให้สูญหายและยังเป็นการส่งเสริมผู้ผลิตรายย่อย ซึ่งเป็นชาวประมงพื้นบ้านให้สามารถดำเนินการประมงได้อย่างยั่งยืน ด้วยการเพาะพันธุ์ปูม้าในพื้นที่โดยการฟักไข่จากตับปิ้งของแม่ปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง และอนุบาลตัวอ่อนภายในกระชังที่อยู่ในทะเลเพื่อรอการปล่อยสู่ชายฝั่งทะเลจนเติบโตเป็นปูม้าขนาดใหญ่ ความร่วมมือในครั้งนี้ ขอบคุณกรมประมง โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 3 (สุราษฎร์ธานี) ที่ให้การสนับสนุนลูกปูม้าในระยะ Young Crab มาตลอด และในครั้งนี้มอบการสนับสนุนกว่า 200,000 ตัว เพื่อปล่อยลงท้องทะเลอ่าวไทย เกาะเสร็จ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนของปูม้าในท้องทะเลไทย และให้เกิดการสอดคล้องกับแนวทาง 3S ขององค์กร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยอาหาร ความมั่นคงอาหาร และความยั่งยืนอาหารที่องค์กรได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง

“ดังนั้น ซีพีแรมได้ขับเคลื่อนภารกิจงานด้านความรับผิดชอบทางสังคมฯ โดยบุคลากรในองค์กรทุกคนได้มีส่วนร่วม และนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันอย่างต่อเนื่องครอบคลุมหลายด้าน เดินหน้าสร้างคุณค่าให้กับสังคมรอบข้าง อีกทั้งร่วมส่งมอบความดีคู่ความเก่งให้กับผู้บริโภคและสังคม 3 ประการด้วยกัน คือ FOOD SAFETY,FOOD SECURITY, และ FOOD SUSTAINABILITY หรือ FOOD 3S ทั้ง FOOD 3S ไม่ได้เป็นเรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง เราต้องร่วมกันทำตลอดห่วงโซ่อุปทานส่งมอบความดีคู่ความเก่งใน FOOD 3S ให้กับผู้บริโภคและสังคมเป็นเนื้อเดียวกัน นอกเหนือจากการส่งมอบความดีคู่ความเก่งให้กับผู้บริโภคและสังคม 3 ประการแล้วนั้น ซีพีแรมยังคงเดินหน้าด้านการส่งเสริมความรู้อาหารปลอดภัย คุณค่าทางโภชนาการ และสุนทรียภาพในการบริโภค ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ด้านการพัฒนาการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ซีพีแรมยังคำนึงถึงการมอบสิ่งที่เป็นคุณค่าบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดห่วงโซ่อุปทาน อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจตามหลัก 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่มุ่งสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ ประเทศชาติ สังคม และบริษัท

ดร.สุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง เปิดเผยว่า ปูม้าตามธรรมชาติ ในทะเลมีปริมาณลดลง เนื่องจากมีการบริโภคเพิ่มมากขึ้น การอนุรักษ์ และพื้นฟูทรัพยากรปูม้าในประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จ โดยสามารถเพิ่มปริมาณปูม้าได้เพิ่มมากขึ้น จากการสอบถามพบว่า พี่น้องชาวประมงจับปูม้าได้มากขึ้น การปล่อยปูม้าในพื้นที่บริเวณเกาะเสร็จของ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก เนื่องจากลูกปูม้าสามารถฝั่งตัวและเจริญเติบโตได้ดี ในบริเวณดังกล่าวและเป็นพื้นที่ที่รวมแหล่งอาหารของการอนุบาลสัตว์น้ำทะเลขนาดเล็ก ทั้ง หญ้าทะเล อาหารส่วนอื่น ๆ ที่เหมาะสมอีกด้วย

ด้านนายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีพีแรมจำกัด เปิดเผยว่า ซีพีแรม เป็นผู้ผลิตอาหาร สิ่งที่เราเป็นห่วง คือ วัตถุดิบ ที่มาจากธรรมชาติ เช่น ปูม้า เป็นวัตถุดิบที่เราผลิตเองไม่ได้ ต้องอาศัยการเพราะเลี้ยงในธรรมชาติ ดังนั้น เราต้องคืนกลับไปให้ธรรมชาติให้มากที่สุด  เพื่อเป็นแหล่งอาหารไปชั่วลูกชั่วหลาน และซีพีแรมเอง ผลิตข้าวผัดปู จำหน่ายใน เซเว่นอีเลฟเว่น โดยใช้ปูม้าจากแหล่งผลิตในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมากที่สุด สิ่งที่เราต้องการคือ ความยั่งยืน ตลอดห่วงโซ่การผลิต และสิ่งสำคัญ คือ ชาวประมง ต้องมีปูให้จับตลอดไป  

นายเจริญศักดิ์ วงศ์สุวรรณ นายอำเภอไชยา กล่าวว่า ความสมบูรณ์ของทะเลไชยาในวันนี้ เป็นผลมาจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน ทั้งชาวประมงพื้นบ้านเองก็ตระหนักและให้ความร่วมมือในการทำธนาคารปูม้า ภาคเอกชน ผู้ประกอบการก็เข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการปล่อยลูกพันธุ์ปูม้า  มีการปล่อยตลอดทั้งปี ในหลาย โอกาส ขอบคุณ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ที่เป็นกำลังสำคัญในการเดินหน้า โครงการ “ปูม้า ยั่งยืน คู่ทะเลไทย” และทุกภาคส่วนที่ร่วมปล่อยลูกปูม้าในพื้นที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีในครั้งนี้