“รมว.ดีอีเอส” มองไกล มอบ “สถาบันไอโอที-ดีป้า” เตรียมการล่วงหน้า จับมือ “เอไอเอส” ติดตั้งเซนเซอร์วัดฝุ่น PM 2.5 200 จุด นาร่อง 3 จังหวัด อีอีซี ต่อยอด NB-IoT ส่งรายงานค่าฝุ่นแบบเรียลไทม์ ผ่าน แอปฯ “depa PM 2.5”
ดีป้า ลาดพร้าว – แม้ยังคงมีวิกฤตโควิค-19 แต่ รมว.ดีอีเอส ไม่นิ่งนอนใจ ปัญหาฝุ่น มอบ สถาบันไอโอทีและนวัตกรรม โดย สานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เตรียม รับมือ โดยร่วมกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จากัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ติดตั้งเซนเซอร์ ตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น และ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 รวม 200 จุด ชูระบบ NB-IoT Network ส่งข้อมูลเข้า Data Center ประมวลผล พร้อมรายงานข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน “depa PM 2.5” แบบ เรียลไทม์ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ประชาชนได้ใช้เพื่อรับมือกับปัญหาฝุ่นควันและมลพิษ นาร่อง 3 จังหวัดในอีอีซี (ระยอง ชลบุรี และ ฉะเชิงเทรา) เตรียมต่อยอดขยายในพื้นที่เมืองอัจฉริยะทั่วประเทศ
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อานวยการใหญ่ สานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เผยว่า ความร่วมมือระหว่างสถาบันไอโอทีและนวัตกรรม (IoT and Innovation Institute) หน่วยงานภายใต้การ กากับของดีป้า และเอไอเอส ในครั้งนี้เป็นการต่อยอดจากการเดินหน้าหาพันธมิตรเพื่อร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลและสังคม (ดีอีเอส) ได้มอบหมายให้ดีป้า สานต่อ พันธมิตรเพื่อมุ่งขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ดีป้าได้เล็งเห็นในความสาคัญของการ เตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ จึงได้จับมือเอไอเอส ร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย ไอโอที โดยติดตั้งเซนเซอร์วัดค่าความชื้น อุณหภูมิ และ ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 200 จุด พร้อมกับ พัฒนาแอปฯ depa PM 2.5 เพื่อใช้ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศ โดยนาร่อง ในพื้นที่ 3 จังหวัดอีอีซี เนื่องจาก เป็นพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษเป็นอย่างมากเนื่องจากมีโรงงานขนาดใหญ่ และ ระบบการขนส่ง ทั้งทางรถบรรทุก และเรือจำนวนมาก
“ไอโอที หรือ Internet of Things เป็นเทคโนโลยีที่สามารถนามาประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลาย จุดประ สง ค์ เช่น ใน ภาคการเกษตร ไ อโอทีก็สามาร ถน ามา ปรับใ ช้วัด ค่า ความ ชื้น และ อุ ณหภูมิ ใน ดิน แ ละ สั่ง ก า ร ใ ห้ อุปกรณ์อื่น ๆ ทางานได้อย่างอัตโนมัติตามความเหมาะสมกับพืชผล สาหรับครั้งนี้ได้มีการติดตั้งเซนเซอร์ ตรวจวัดค่าคุณภาพอากาศ พร้อมพัฒนาแอปฯสาหรับรายงานค่าคุณภาพอากาศได้แบบเรียลไทม์ พร้อมการ แจ้งเตือนสถาพอากาศพื้นที่ที่มีการเลือกติดตาม และ แนะนาวิธีดูแลตัวเอง โดยมุ่งที่จะยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนด้วยไอโอทีในอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ได้มีการวางแผนที่จะขยายระบบไปในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เริ่มจากพื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะ เช่น ภูเก็ต กระบี่ อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ และพิษณุโลก เป็นต้น ตอบโจทย์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม” ผอ.ใหญ่ ดีป้า กล่าวเสริม
ด้าน นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กรของเอไอเอส เผยว่า เอไอเอสได้รับการส่งเสริมจากดีป้าในการพัฒนาระบบเพื่อติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์ และ พัฒนาแอป พลิเคชัน โดยร่วมกับพันธมิตรด้านไอโอทีพัฒนาชุดอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม ซึ่งภายในประกอบด้วยเซน เชอร์วัดค่าความชื้น อุณหภูมิ และ ค่าฝุ่น PM 2.5 โดยข้อมูลต่าง ๆ ที่วัดได้จะถูกส่งข้อมูลกลับไปยัง Magellan (IoT Platform ของเอไอเอส) ผ่านเครือข่าย NB-IoT ซึ่งเป็นระบบส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สาย ใช้ พลังงานต่า แบตเตอรี่สามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี และมีสัญญาทะลุทะลวงสูง มีพื้นให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ โดยการทางานเซนเซอร์จะทาการตรวจวัดค่าทุก ๆ 5 นาที และ จะส่งข้อมูลไปยัง Magellan เพื่อประมวลผล ข้อมูล และแสดงผลเป็นค่าความชื้นในอากาศ อุณหภูมิ และ ค่าฝุ่น PM 2.5 รายงานผลพื้นที่ถึงในระดับตาบล กระจายพื้นที่ 3 จังหวัดอีอีซี นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเป็น Dashboard แสดงผลสรุปรายดือนในรูปแบบของ Web Based เพื่อให้ผู้บริหารเมือง หรือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเมืองได้สามารถนามาเป็นข้อมูลเพื่อ นาไปสู่การวางแผนพัฒนาเมืองที่ตอบโจทย์ประชาชนได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น นอกจากการให้บริการข้อมูลใน แบบเรียลไทม์แล้ว เอไอเอส จะมีแผนบูรณาการข้อมูลร่วมกับเครือข่ายนักวิจัย โดยจะร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ขนาดใหญ่(Big Data) ให้สามารถวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์สภาพอากาศล่วงหน้า สาหรับการบริหารจัดการ ทรัพยากร และการดูแลประชาชนในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากนี้ ผอ.ใหญ่ ดีป้า เผยเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ที่ทั่วโลกกาลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโค วิด-19 และส่งผลถึงชีวิต ซึ่งดีป้าก็ได้เดินหน้าเพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ประชาชนผ่าน วิกฤตไปให้ได้ แต่สาหรับปัญหาฝุ่นละอองประเทศไทยเราก็ยังต้องเผชิญทุกปี โดยเฉพาะฤดูที่มีความกดอากาศ ต่า ถึงจะไม่ส่งผลอย่างรวดเร็วแต่ก็เกิดการสะสมจนส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนได้ ลาพังมนุษย์เราเองคง ตอนนี้ ถึงจะรณรงค์ด้านต่าง ๆ แต่ยังไม่สามารถที่จะกอบกู้ความสมบูรณ์ของชั้นบรรยากาศที่ดีกลับมาได้ทันที สิ่งที่ทาได้ตอนนี้คือการหลีกเลี่ยงและป้องกัน ซึ่งการร่วมมือกับเอไอเอสในครั้งนี้ก็เป็นการพัฒนาเครื่องมือ สาหรับประชาชนให้ได้คอยตรวจสอบคุณภาพอากาศที่ใกล้เคียงเวลาจริงมากที่สุด เพื่อเตรียมรับมือป้องกัน หลีกเลยี่งพร้อมลดความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษในอากาศได้
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “depa PM 2.5” ได้แล้ววันนี้ ทั้งระบบ iOS และ Android ทาง http://onelink.to/depapm หรือ สแกน QR Code