ชป.เดินหน้าศึกษา EIA โครงการอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิง

0
701

กรมชลประทาน เดินหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม “อาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิงท้ายเขื่อนภูมิพล” จังหวัดตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ เพื่อแก้แล้ง-อุทกภัย ช่วยเกษตรกร ชี้จุด 3 โครงการเหมาะสม ได้แก่ โครงการอาคารบังคับน้ำบ้านแม่ยะ โครงการอาคารบังคับน้ำวังยาวหนองขวัญ และ โครงการอาคารบังคับน้ำคลองกระถิน

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยนายไชยงค์ จงอาสาชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 4 นำคณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ ลงสำรวจพื้นที่และพบปะประชาชน เพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ กลุ่มเกษตรกร และประชาชน บริเวณพื้นที่ศึกษาโครงการอาคารบังคับน้ำแม่ยะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก

รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้จัดทำแผนหลักการพัฒนาอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิงท้ายเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ โดยดำเนินการคัดเลือกโครงการฯ จำนวน 3 แห่ง เพื่อนำไปดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย โครงการอาคารบังคับน้ำบ้านแม่ยะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก พื้นที่รับประโยชน์ 32,500 ไร่ โครงการอาคารบังคับน้ำวังยางหนองขวัญ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร พื้นที่รับประโยชน์ 601,585 ไร่ และโครงการอาคารบังคับน้ำคลองกระถินอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่รับประโยชน์ 112,500 ไร่ โดยทั้ง 3 โครงมีลักษณะเป็นฝายคอนกรีตพร้อมบานระบาย

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากปัจจุบันแม่น้ำปิงมีสภาพตื้นเขิน มีปัญหาตะกอนทราย เกาะแก่งในลำน้ำ ทำให้ร่องน้ำเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้ราษฎรสูบน้ำไปใช้เพื่อการเกษตรไม่ได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ รวมทั้งโรงสูบน้ำของการประปาส่วนภูมิภาค การประปาของเทศบาลและท้องถิ่น ก็พบกับปัญหาการสูบน้ำเพื่อผลิตน้ำประปาสำหรับชุมชนเมือง เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำปิงต่ำมาก เนื่องจากการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล อยู่ในเกณฑ์น้อยในแต่ละวัน สาเหตุจากปริมาณน้ำในอ่างฯที่อยู่ในเกณฑ์น้อย

นายเฉลิมเกียรติ กล่าวอีกว่า ความต้องการของประชาชนทั้งในภาครัฐ ภาคการเกษตร ภาคประชาสังคม ภาคอุตสาหกรรม หอการค้า คณะกรรมการภาครัฐและเอกชนของจังหวัดตาก ต่างต้องการให้มีการศึกษาและก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำปิง ในบริเวณที่เหมาะสม เพื่อยกระดับน้ำให้สูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้สามารถชะลอน้ำไว้ เพื่อยืดระยะเวลาการสูบน้ำส่งให้กับพื้นที่ต่างๆได้อย่างทั่วถึง ทั้งการอุปโภคบริโภค การเกษตร การประมง และส่งเสริมการท่องเที่ยว หากโครงการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำทั้ง 3 แห่งดังกล่าว สามารถดำเนินการได้จนแล้วเสร็จจะสร้างประโยชน์แก่ราษฎรในพื้นที่ได้เป็นอย่างมาก

ชป.เดินหน้าศึกษา EIA โครงการอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิง กรมชลประทาน เดินหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม “อาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิงท้ายเขื่อนภูมิพล” จังหวัดตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ เพื่อแก้แล้ง-อุทกภัย ช่วยเกษตรกร ชี้จุด 3 โครงการเหมาะสม ได้แก่ โครงการอาคารบังคับน้ำบ้านแม่ยะ โครงการอาคารบังคับน้ำวังยาวหนองขวัญ และ โครงการอาคารบังคับน้ำคลองกระถิน

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยนายไชยงค์ จงอาสาชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 4 นำคณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ ลงสำรวจพื้นที่และพบปะประชาชน เพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ กลุ่มเกษตรกร และประชาชน บริเวณพื้นที่ศึกษาโครงการอาคารบังคับน้ำแม่ยะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก

รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้จัดทำแผนหลักการพัฒนาอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิงท้ายเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ โดยดำเนินการคัดเลือกโครงการฯ จำนวน 3 แห่ง เพื่อนำไปดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย โครงการอาคารบังคับน้ำบ้านแม่ยะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก พื้นที่รับประโยชน์ 32,500 ไร่ โครงการอาคารบังคับน้ำวังยางหนองขวัญ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร พื้นที่รับประโยชน์ 601,585 ไร่ และโครงการอาคารบังคับน้ำคลองกระถินอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่รับประโยชน์ 112,500 ไร่ โดยทั้ง 3 โครงมีลักษณะเป็นฝายคอนกรีตพร้อมบานระบาย

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากปัจจุบันแม่น้ำปิงมีสภาพตื้นเขิน มีปัญหาตะกอนทราย เกาะแก่งในลำน้ำ ทำให้ร่องน้ำเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้ราษฎรสูบน้ำไปใช้เพื่อการเกษตรไม่ได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ รวมทั้งโรงสูบน้ำของการประปาส่วนภูมิภาค การประปาของเทศบาลและท้องถิ่น ก็พบกับปัญหาการสูบน้ำเพื่อผลิตน้ำประปาสำหรับชุมชนเมือง เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำปิงต่ำมาก เนื่องจากการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล อยู่ในเกณฑ์น้อยในแต่ละวัน สาเหตุจากปริมาณน้ำในอ่างฯที่อยู่ในเกณฑ์น้อย

นายเฉลิมเกียรติ กล่าวอีกว่า ความต้องการของประชาชนทั้งในภาครัฐ ภาคการเกษตร ภาคประชาสังคม ภาคอุตสาหกรรม หอการค้า คณะกรรมการภาครัฐและเอกชนของจังหวัดตาก ต่างต้องการให้มีการศึกษาและก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำปิง ในบริเวณที่เหมาะสม เพื่อยกระดับน้ำให้สูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้สามารถชะลอน้ำไว้ เพื่อยืดระยะเวลาการสูบน้ำส่งให้กับพื้นที่ต่างๆได้อย่างทั่วถึง ทั้งการอุปโภคบริโภค การเกษตร การประมง และส่งเสริมการท่องเที่ยว หากโครงการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำทั้ง 3 แห่งดังกล่าว สามารถดำเนินการได้จนแล้วเสร็จจะสร้างประโยชน์แก่ราษฎรในพื้นที่ได้เป็นอย่างมาก